โอกาสสำหรับประเทศไทยในเขตเศรษฐกิจสามเหลี่ยมปากแม่น้ำแยงซี (YRD)

โอกาสสำหรับประเทศไทยในเขตเศรษฐกิจสามเหลี่ยมปากแม่น้ำแยงซี (YRD)

วันที่นำเข้าข้อมูล 24 มี.ค. 2565

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 24 มี.ค. 2565

| 712 view

ศักยภาพและโอกาสในเขตเศรษฐกิจสามเหลี่ยมปากแม่น้ำแยงซี

 

20211021

          จีนเป็นประเทศมหาอำนาจที่มีมูลค่าการค้าระหว่างประเทศมหาศาล ซึ่งหากเราเจาะลึกลงไปท่านผู้อ่านทราบหรือไม่คะว่า ประเทศจีนมีเขตเศรษฐกิจแห่งหนึ่งที่มีขนาด GDP คิดเป็น ๑ ใน ๔ ของมูลค่ารวมทั้งประเทศเลยทีเดียว และนั้นก็คือ เขตเศรษฐกิจ Yangtze River Delta (YRD) หรือ เขตเศรษฐกิจลุ่มแม่น้ำแยงซี นั้นเองค่ะ โดยคุณลดา ภู่มาศ กงสุลใหญ่ ณ นครเซี่ยงไฮ้ จะมาขยายความให้ผู้อ่านเข้าใจถึงศักยภาพและโอกาสของไทยในเขตเศรษฐกิจนี้กันค่ะ (รับฟังเพิ่มเติมผ่าน FM 88 MHz สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย)

          เขตเศรษฐกิจลุ่มแม่น้ำแยงซี ซึ่งประกอบด้วย นครเซี่ยงไฮ้ มณฑลเจียงซู มณฑลเจ้อเจียง และมณฑลอานฮุยมีขนาดพื้นที่รวมกันเพียงประมาณร้อยละ ๔ ของประเทศจีน แต่กลับมีจำนวนประชากรถึง ๓๔๐ ล้านคน และมีขนาด GDP เทียบเท่า ๑ ใน ๔ ของทั้งประเทศจีน กล่าวได้ว่ามูลค่าทางการค้าระหว่างประเทศของจีนประมาณร้อยละ ๓๗ เกิดขึ้นในเขตเศรษฐกิจลุ่มแม่น้ำแยงซี และเมื่อไม่นานนี้ ช่วงครึ่งแรกของปี ๒๕๖๔ มูลค่าการค้าระหว่างประเทศในเขตเศรษฐกิจลุ่มแม่น้ำแยงซี เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ ๓๒.๙ คิดเป็นร้อยละ ๓๖.๑ ของมูลค่าการค้าทั้งหมดในประเทศจีน โดยผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศต่อหัว (GDP per Capita) ของนครเซี่ยงไฮ้ (ในมณฑลเจ้อเจียง) ติดอันดับสูงสุดในประเทศ ถือเป็นเมืองเดียวในจีนที่มีมูลค่า GDP รวมมากกว่า ๒ ล้านล้านหยวน ในขณะที่กรุงปักกิ่งรั้งอันดับ ๒ ด้วยมูลค่า GDP ๑.๙ ล้านล้านหยวน-สถิติเหล่านี้ได้เน้นย้ำถึงศักยภาพของเขตเศรษฐกิจลุ่มแม่น้ำแยงซี

          ...มีกลุ่มนักลงทุนจำนวนมากจากเขตเศรษฐกิจลุ่มแม่น้ำแยงซีที่เข้ามาลงทุนในประเทศไทยด้วย ซึ่งรวมถึงการลงทุนในนิคมอุตสาหกรรมไทย-จีน จังหวัดระยอง และการลงทุนของ SAIC Motor หนึ่งในผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่ที่สุดในนครเซี่ยงไฮ้ ซึ่งได้ร่วมทุนกับบริษัทชั้นนำของประเทศไทยลงทุนด้านรถยนต์พลังงานไฟฟ้าและยานยนต์เพื่ออุตสาหกรรมในอนาคต นอกจากนี้ ยังมีบริษัท ZTE, Huawei และ Alibaba ที่เข้ามาลงทุนในประเทศไทยด้วย ในขณะที่ไทยเองก็ได้มีการส่งออกสินค้าของไทยหลายประเภทไปสู่เขตเศรษฐกิจแห่งนี้ ได้แก่ เครื่องจักร อิเล็กทรอนิกส์ วงจรรวม พลาสติก และผลไม้ โดยเฉพาะทุเรียนเกรดพรีเมียม ซึ่งสินค้าทั้งหมดนี้สร้างรายได้ให้กับธุรกิจภาคการเกษตรของไทยและภาคการลงทุนอย่างมาก

          รัฐบาลไทยตระหนักถึงศักยภาพของเขตเศรษฐกิจลุ่มแม่น้ำแยงซีเป็นอย่างดี จึงได้ก่อตั้งสถานกงสุลใหญ่ ณ นครเซี่ยงไฮ้ เมื่อปี ๒๕๔๐ โดยมีอาณาเขตครอบคลุมเขตเศรษฐกิจลุ่มแม่น้ำแยงซี และได้ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างไทยและกลยุทธ์ของเขตเศรษฐกิจลุ่มแม่น้ำแยงซีมาอย่างต่อเนื่อง

          สำหรับท่านกงสุลใหญ่ลดา ที่เพิ่งรับหน้าที่กงสุลใหญ่ในนครเซี่ยงไฮ้ยังไม่ถึง ๑ ปี ได้ร่วมจัดกิจกรรมต่าง ๆ ครอบคลุมทุกด้านของความร่วมมือไทย-จีน เพื่อให้ประเทศไทยอยู่ในเรดาร์ของภาคธุรกิจ หน่วยงานของรัฐ และประชาคมระหว่างประเทศอย่างมีประสิทธิภาพ ล่าสุดเมื่อวันที่ ๒๔ สิงหาคม ๒๕๖๔ ได้จัดการประชุมเศรษฐกิจกรุงเทพฯ-เซี่ยงไฮ้ ครั้งที่ ๔ (Bangkok-Shanghai Economic Conference) ในหัวข้อ “การสอดประสานนโยบายเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุ่นเวียน และเศรษฐกิจสีเขียวของไทยกับนโยบายการพัฒนาที่มีคุณภาพสูงของจีน: จาก EEC ถึง YRD” (“Synergizing Thailand’s BCG with China’s High-Quality Development: From EEC to YRD”) ที่นครเซี่ยงไฮ้ ซึ่งประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก มีผู้บริหารระดับสูงจากภาครัฐและภาคธุรกิจเข้าร่วมประมาณ ๖๐ คน และมีผู้รับชมการถ่ายทอดสดกว่า ๕,๐๐๐ คน
01
02
03  
04  
05
 
06

          นอกจากนี้ สถานกงสุลใหญ่ ณ นครเซี่ยงไฮ้ ยังคำนึงว่า soft power หรืออำนาจละมุน จะเข้ามามีบทบาทสำคัญในการสร้างชื่อเสียงให้กับประเทศไทยในระดับสากล จึงดำเนินการผลักดันมวยไทย การนวดไทย และสปาไทย ให้เป็นที่นิยมและเป็นที่รู้จักไปทั่วโลก ยิ่งไปกว่านั้น สถานกงสุลใหญ่ฯ มีเป้าหมายในการสานต่อเรื่องราวความสำเร็จของความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และธุรกิจในเขตเศรษฐกิจลุ่มแม่น้ำแยงซี เพื่อผลักดันให้เกิดผลเป็นรูปธรรมมากขึ้นในอนาคต รวมถึงส่งเสริมความเชื่อมโยงกับสถาบันการศึกษา มหาวิทยาลัย และผู้คนท้องถิ่นในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อผนึกพลัง ประสานความต่างทางยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาของทั้งสองประเทศในการสร้างผลประโยชน์ร่วมกันระหว่างประเทศไทยกับพื้นที่ในเขตเศรษฐกิจลุ่มแม่น้ำแยงซี

          ท่านกงสุลใหญ่ลดาเชื่อว่า ทั้ง EEC ของไทย และ YRD ของจีน จะเกื้อกูลกันและกันในการสร้างโอกาสและความร่วมมือด้านต่าง ๆ อาทิ ด้านการวิจัยและการพัฒนา หุ้นส่วนทางธุรกิจและการลงทุน หุ้นส่วนในระดับภูมิภาค หรือการบรรลุเป้าหมายทางอุตสาหกรรมในพื้นที่และการเป็นหุ้นส่วนทาง BCG
 
ที่มา https://www.blockdit.com/posts/620331aa483b080bb75f9885
 

วิดีโอประกอบ

โอกาสสำหรับประเทศไทยในเขตเศรษฐกิจสามเหลี่ยมปากแม่น้ำแยงซี (YRD)