วันที่นำเข้าข้อมูล 13 ม.ค. 2566
วันที่ปรับปรุงข้อมูล 13 ม.ค. 2566
สถานกงสุลใหญ่ ณ นครเซี่ยงไฮ้ มอบศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงจำลอง
และชุดหนังสือพระราชนิพนธ์ และพระราชนิพนธ์แปล ในสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี แก่มหาวิทยาลัยนานาชาติศึกษา นครเซี่ยงไฮ้
泰国驻沪总领事馆向上外捐赠泰国兰甘亨石碑复刻品及诗琳通公主御笔文集和翻译文集
2023年1月12日,泰王国驻上海总领事乐达·普玛向上海外国语大学捐赠了泰国兰甘亨石碑(或称为“1号方碑”)复刻品及诗琳通公主御笔文集和翻译文集。上海外国语大学副校长衣永刚、东方语学院院长程彤、世界语言博物馆副馆长周源源、对外合作交流处副处长黄一苇于上海外国语大学世界语言博物馆内共同参加捐赠仪式。
วันที่ 12 มกราคม 2566 นางสาวลดา ภู่มาศ กงสุลใหญ่ ณ นครเซี่ยงไฮ้ มอบศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง (ศิลาจารึกหลักที่ 1) จำลอง และชุดหนังสือพระราชนิพนธ์และพระราชนิพนธ์แปล ในสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี แก่มหาวิทยาลัยนานาชาติศึกษา นครเซี่ยงไฮ้ (Shanghai International Studies University: SISU) โดย ดร. อี หย่งกาง (Yi Yonggang) รองอธิการบดี เป็นผู้รับมอบ และ ศ. เฉิง ถง (Cheng Tong) คณบดี คณะเอเชียและแอฟริกาศึกษา ดร. โจว หยวนหยวน (Zhou Yuanyuan) รองผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์ภาษาต่างประเทศ และนายหวง อีเหว่ย (Huang Yiwei) รองผู้อำนวยการ สำนักงานการแลกปลี่ยนและความร่วมมือระหว่างประเทศ เข้าร่วมด้วย ณ พิพิธภัณฑ์ภาษาต่างประเทศ SISU
กงสุลใหญ่ลดาฯ ให้ข้อมูลเกี่ยวกับความสำคัญและคุณค่าด้านประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมโลกของศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง ซึ่งเป็นศิลาจารึกที่เก่าแก่ที่สุดของไทย บันทึกเรื่องราวการประดิษฐ์อักษรไทยหรือลายสือไทยอันเป็นรากฐานของภาษาไทยที่ใช้สื่อสารในปัจจุบันเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์สำคัญที่สนับสนุนให้ประเทศไทยประสบความสำเร็จในการเสนอขึ้นทะเบียนเมืองประวัติศาสตร์สุโขทัยและเมืองบริวารเป็นมรดกโลกเมื่อปี 2534 และเมื่อปี 2546 ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนเป็นมรดกแห่งความทรงจำของโลกโดย UNESCO ซึ่งสถานกงสุลใหญ่ฯ ได้มอบศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงจำลองให้แก่พิพิธภัณฑ์ภาษาต่างประเทศ เพื่อสานต่อความร่วมมืออันดีที่มีมาต่อเนื่องกับ SISU
สถานกงสุลใหญ่ฯ ยังได้ดำเนินการเชิงรุกโดยจัดทำโครงการชุดหนังสือพระราชนิพนธ์และพระราชนิพนธ์แปล ในสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ประกอบด้วยพระราชนิพนธ์เกี่ยวกับการเสด็จฯ เยือนสาธารณรัฐประชาชนจีนจำนวน 8 เล่ม และพระราชนิพนธ์แปลจากภาษาจีนเป็นภาษาไทยจำนวน 3 เล่ม เพื่อเผยแพร่พระอัจฉริยภาพและพระปรีชาสามารถ ตลอดจนพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้ในความสัมพันธ์ไทย - จีน มอบแก่ศูนย์ไทยศึกษา (Thai Corner) เพื่อสนับสนุนการเรียนการสอนภาษาไทยของ SISU
ในโอกาสเดียวกันนี้ กงสุลใหญ่ลดาฯ ได้หารือกับ ดร. อีฯ เกี่ยวกับการส่งเสริมความร่วมมือด้านการศึกษาสองฝ่ายโดยเฉพาะในบริบทเป้าหมายการดำเนินงานด้านการศึกษาในปี 2566 ของนครเซี่ยงไฮ้ ที่เน้นการศึกษาที่มีคุณภาพสูงในทุกระดับ ตลอดจนประเด็นที่อยู่ในความสนใจร่วมกัน อาทิ การแลกเปลี่ยนบุคลากรและนักศึกษา ความร่วมมือด้านวัฒนธรรม ความเชื่อมโยงระหว่างเยาวชน ทุนการศึกษาและการฝึกอบรม เป็นต้น ตลอดจนปัจจุบัน นักศึกษาชาวไทยได้เริ่มเดินทางกลับเข้ามาศึกษาต่อในจีนและ SISU ด้วยแล้ว กงสุลใหญ่ลดาฯ จึงได้ฝากให้ดูแลนักศึกษาชาวไทยอย่างดีด้วย
ดร. อีฯ ขอบคุณสถานกงสุลใหญ่ฯ สำหรับการมอบศิลาจารึกฯ และชุดหนังสือพระราชนิพนธ์ฯ นับเป็นนิมิตรหมายอันดีในการเปิดหน้าใหม่ความร่วมมือระหว่างกันภายหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 และมาตรการที่ผ่อนคลายลง ซึ่ง SISU พร้อมผลักดันความร่วมมือที่เกี่ยวข้องเพื่อส่งเสริมความร่วมมืออย่างยั่งยืนต่อไป
泰王国驻上海总领事馆的主要职责之一就是担任泰中联系的桥梁,推动青少年的之间的合作与互联互通,并宣传泰国的文化,支持泰语教学在上海市和长三角地区的发展。
สถานกงสุลใหญ่ ณ นครเซี่ยงไฮ้ ทำหน้าที่เป็นสะพานเชื่อมระหว่างประชาชนไทย - จีน เสริมสร้างความความร่วมมือและความเชื่อมโยงระดับเยาวชน ตลอดจนเผยแพร่ความเป็นไทยและสนับสนุนการเรียนการสอนภาษาไทยในนครเซี่ยงไฮ้และพื้นที่เขตสามเหลี่ยมเศรษฐกิจปากแม่น้ำแยงซี (YRD)
泰王国驻上海总领事馆的主要职责之一就是担任泰中联系的桥梁,推动青少年的之间的合作与互联互通,并宣传泰国的文化,支持泰语教学在上海市和长三角地区的发展。
สถานกงสุลใหญ่ ณ นครเซี่ยงไฮ้ ทำหน้าที่เป็นสะพานเชื่อมระหว่างประชาชนไทย - จีน เสริมสร้างความความร่วมมือและความเชื่อมโยงระดับเยาวชน ตลอดจนเผยแพร่ความเป็นไทยและสนับสนุนการเรียนการสอนภาษาไทยในนครเซี่ยงไฮ้และพื้นที่เขตสามเหลี่ยมเศรษฐกิจปากแม่น้ำแยงซี (YRD)
Monday - Friday : 09.30 - 12.00 and 13.30 - 17.30