กงสุลใหญ่ ณ นครเซี่ยงไฮ้ พบหารือภาคธุรกิจบริการไทยในนครเซี่ยงไฮ้

กงสุลใหญ่ ณ นครเซี่ยงไฮ้ พบหารือภาคธุรกิจบริการไทยในนครเซี่ยงไฮ้

วันที่นำเข้าข้อมูล 25 ม.ค. 2565

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 29 พ.ย. 2565

| 784 view

                                                                                                                                       泰国驻沪总领事会见泰国驻沪服务业企业

                                                                                                                     กงสุลใหญ่ ณ นครเซี่ยงไฮ้ พบหารือภาคธุรกิจบริการไทยในนครเซี่ยงไฮ้

01

          2022年1月21日和24日,泰王国驻上海总领事乐达·普玛女士会见了泰国驻上海金融服务业企业管理层,分别是盘谷银行(中国)有限公司和开泰银行(中国)有限公司。旨在与两家银行针对泰国和中国经济发展、中国金融政策、2021年开展数字人民币政策及金融市场未来趋势等方面交流并交换了观点和看法。此外,双方还谈及了两家银行在金融界内的地位,及银行产业对于区域经济发展所起到的作用,特别是在区域全面经济伙伴关系协定(RCEP)正式生效的情况下,该如何发挥自身作用。包括总领事馆将如何与两家银行开展并保持可持续的合作关系等内容。

          วันที่ 21 และ 24 มกราคม 2565 น.ส. ลดา ภู่มาศ กงสุลใหญ่ ณ นครเซี่ยงไฮ้ พบปะหารือผู้บริหารภาคธุรกิจบริการด้านการเงินของไทยในนครเซี่ยงไฮ้ ได้แก่ ธนาคารกรุงเทพ (ประเทศจีน) จำกัด และธนาคารกสิกรไทย (ประเทศจีน) จำกัด ตามลำดับ เพื่อแลกเปลี่ยนทัศนะเกี่ยวกับพัฒนาการทางเศรษฐกิจของไทยและจีน นโยบายด้านการเงินของจีน พัฒนาการการใช้ดิจิทัลหยวนในปี 2564 และแนวโน้มในอนาคต บทบาทของภาคการเงิน/การธนาคารต่อพัฒนาการการบูรณาการทางเศรษฐกิจในภูมิภาคโดยเฉพาะการมีผลบังคับใช้ของความตกลง Regional Comprehensive Economic Partnership (RCEP) ตลอดจนการส่งเสริมการเป็นหุ้นส่วนความร่วมมือที่ยั่งยืนระหว่างสถานกงสุลใหญ่ ณ นครเซี่ยงไฮ้ กับธนาคาร  
02
          盘谷银行于1986年在中国开设第一家分行,并于2009年由分行转型为地方银行,更名为盘谷银行(中国)有限公司,在上海设立总部。开泰银行(中国)有限公司于1994年开始在中国开展金融业务,并于2017年在上海开展业务,总部设于深圳市。两家银行作为泰国趋于前列的金融银行,不仅为客人提供多元化且齐全的金融服务,还为中国和外国企业提供齐全的金融服务,银行发展与中国改革开放政策相呼应,目前两家银行位居上海市金融行业重要地位,并已做好准备为实现中泰企业及东盟各国企业相互连通进行服务。

          ธนาคารกรุงเทพเริ่มเปิดสาขาในจีนตั้งแต่ปี 2529 และในปี 2552 ได้เปลี่ยนสถานะจากสาขาเป็นธนาคารท้องถิ่น ใช้ชื่อว่าธนาคารกรุงเทพ (ประเทศจีน) จำกัด มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่นครเซี่ยงไฮ้ ส่วนธนาคารกสิกรไทย (ประเทศจีน) จำกัด ดำเนินกิจการในจีนตั้งแต่ปี 2537 ในส่วนของนครเซี่ยงไฮ้ตั้งแต่ปี 2560 มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่เมืองเซินเจิ้น ธนาคารแนวหน้าของไทยทั้งสองแห่งให้บริการทางการเงินที่หลากหลายและครบวงจรแก่ลูกค้า/ ธุรกิจทั้งในจีนและต่างประเทศ สอดรับนโยบายการเปิดกว้างและการพัฒนาคุณภาพสูงของรัฐบาลจีน ตลอดจนการเป็นศูนย์กลางด้านการเงินของนครเซี่ยงไฮ้ พร้อมเชื่อมโยงภาคธุรกิจจีนกับไทย และประเทศในอาเซียน